image
Free CSS Template

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Aliquam feugiat mi lacus, sed accumsan neque. Donec condimentum molestie laoreet.

วนอุทยานโกสัมพี

| 0 ความคิดเห็น | วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552


วนอุทยานโกสัมพี
วนอุทยานโกสัมพี หรือที่ชาวบ้านเรียก "บุ่งลิง" หรือ "หนองบุ่ง" เป็นสถานที่ที่มีทัศนียภาพอันร่มรื่นอยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำชีและอยู่ทางทิศเหนือของสุขาภิบาลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย เป็นวนอุทยานแห่งเดียวที่อยู่ในเขตชุมชนแต่เดิมที่นี่มีสภาพเป็นป่าดงดิบ มีหนองน้ำธรรมชาติอยู่ตรงกลางชื่อ หนองบุ่ง มีเนื้อที่ ๓ ไร่ น้ำขังตลอดปี ลึก ๑.๐๐-๑.๕๐ เมตร มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากอาทิ ไม้ยาง หว้า ตะโก กะเบา ข่อย มะเดื่อ และไม้ไผ่ สำหรับไม้กะเบาและไม้หว้านั้น เป็นทั้งอาหารและยาของสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ โดยเฉพาะลิงสีทอง ซึ่งมีอยู่แห่งเดียวในโลก บริเวณหนองบุ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มี ศาลปู่ตา ตั้งอยู่ภายในและศาลองค์พระมิ่งเมืองตั้งสถิตย์บริเวณทางทิศใต้ของทางเข้าวนอุทยาน ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ กองอุทยานแห่งชาติได้เข้ามาดูแลวนอุทยานโกสัมพีมีสถานที่ที่เหมาะแก่การเที่ยวชมคือ ๑. แก่งตาด อยู่ในลำน้ำชี ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก ของวนอุทยานโกสัมพี มีหินดานเป็นบริเวณกว้าง ในฤดูแล้ง น้ำจะตื้นมองเห็นหินดาน ๒. ลานข่อย ทางวนอุทยานได้ตกแต่งต้นข่อยที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติให้เป็นไม้แคระรูปต่างๆ ๓. ลิงสีทอง เป็นลิงชนิดเดียวในประเทศไทยที่มีขนสีทอง มีจำนวนไม่มาก ซึ่งสมควรอนุรักษ์ก่อนที่จะสูญพันธุ์ปัจจุบัน ทางคณะกรรมการสุขาภิบาลหัวขวาง คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอโกสุมพิสัย และกรมป่าไม ้ สำนักงานป่าไม้เขตขอนแก่น ได้จัดทำ "โครงการฟื้นฟูวัฒนธรรมและการท่องเที่ยววนอุทยานโกสัมพี" เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าในบริเวณวนอุทยานให้คงสภาพตามธรรมชาติที่สมบูรณ์ดังเดิม ตลอดจนจัดระบบชลประทาน และสร้างสิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ โดยมีระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๓ ใช้งบประมาณ ๓๐ ล้านบาท สิ่งอำนวยความสะดวกในวนอุทยานโกสัมพีมีสิ่งบริการความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว อาทิ ศาลาพักผ่อนระหว่างทาง ห้องสุขา และร้านอาหาร เครื่องดื่ม ร้านจำหน่ายของที่ระลึก และแผงขายสินค้า อาหารที่สะอาดปลอดภัย รวมทั้งได้มีการก่อสร้างอาคารนิทรรศการและแสดงผังสถานที่ท่องเที่ยวในวนอุทยานเส้นทางเข้าสู่วนอุทยานโกสัมพีวนอุทยานโกสัมพีอยู่ในเขตสุขาภิบาลหัวขวาง ถนนลาดยาง ห่างจากตัวจังหวัดมหาสารคาม ๒๘ กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหมายเลข ๒๐๘ (มหาสารคาม - โกสุมพิสัย-ขอนแก่น)

ที่มา:http://lifestyle.kingsolder.com/image_lifestyle/20081229222658476.jpg

อินเตอร์เนตในชีวิตประจำวัน

| 0 ความคิดเห็น |



อินเตอเน็ตในชีวิตประจำวัน
ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราแล้ว เราสามารถทราบข่าวสารเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตได้จากหนังสือพิมพ์ วารสาร รายการวิทยุ และจากแหล่งข่าวสารมากมายทั่งทุกมุมโลก ทุกวันนี้มีหนังสือเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตให้เราทำความรู้จักและศึกษาเพิ่มเติม หนังสือพิมพ์ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่หนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็ยังลงบทความเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เราเข้าใจเรื่องราวของอินเตอร์เน็ตและใช้งานจากอินเตอร์เน็ตมากขึ้น นอกจากนี้แล้วยังมีการเปิดสอนเป็นหลักสูตรในระดับปริญญาโทบนอินเตอร์เน็ต จากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยมีการจัดการเรียนการสอนเป็นบางรายวิชา เช่น การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเสมือนของนิสิตปริญญาโทโสตทัศนศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

ทุกวันนี้มีการสร้างโปรแกรมประยุกต์ใช้งานบนอินเตอร์เน็ตมากมาย มีสถานีให้บริการเว็บ เกิดขึ้นทั่วโลก ในแต่ละวันมีสถานีใหม่ๆ เกิดขึ้นให้เราเข้าไปใช้งาน จำนวนผู้เข้าใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนต่างพยายามขวนขวายหาทางให้ตนเองมีหมายเลขบัญชีบนอินเตอร์เน็ต (Internet Account) หรือเป็นสาขาย่อย (Node) ของศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider, ISP) เพื่อบริการแก่เจ้าหน้าที่ พนักงานใหม่ในหน่วยงานของตน

ที่มา:http://tsl.tsu.ac.th/file.php/1/courseware/aa_2/lesson05/images/title.gif
| 0 ความคิดเห็น |

อินเตอร์เนตในประเทศไทย

| 0 ความคิดเห็น |


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
****พ.ศ. 2534 เป็นปีที่มีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์แบบ โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายเป็นสายความเร็วสูงต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ของ บริษัทเอกชนที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ได้ขอเชื่อมต่อผ่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเรียกเครือข่ายนี้ว่า"ไทยเน็ต" (THAInet) นับเป็นเกตเวย์(Gateway) แรกสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสากลของประเทศไทย
****ในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC: National Electronic and Computer Technology Centre) ได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่าย ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง เรียกว่า เครือข่าย"ไทยสาร" ต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ด้วยนับเป็นเกตเวย์สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งที่สอง (จักรพงษ์ เจือจันทร์.2543
)
ที่มา:http://cgsc.rta.mi.th/cgsc/images/stories/cgsc87161a.gif