image
Free CSS Template

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Aliquam feugiat mi lacus, sed accumsan neque. Donec condimentum molestie laoreet.

วันปีใหม่

| 0 ความคิดเห็น | วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

สถานที่Countdown 2010

| 0 ความคิดเห็น |

สถานที่ยอดฮิตฉลองปีใหม่
แยกราชประสงค์

บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริเป็นสถานที่สองที่อยากจะแนะนำให้ไปเสียเหลือเกิน ตั้งแต่แยกปทุมวันถึงชิดลม และตั้งแต่แยกลุมพินิถึงสะพานเฉลิมโลก(ประตูน้ำที่นี่คุณจะต้องตะลึงกับโคมไฟที่ประดับอยู่สองข้างทาง ซึ่งได้บรรยากาศของเทศกาลเป็นที่สุด ดูเจริญตาเจริญใจไม่น้อย



ลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์
กลายเป็นสถานที่ยอดฮิตสำหรับใครที่มองหาแหล่งเที่ยวช่วงปีใหม่ เพราะที่นี่มีการจัดงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แทบทุกปี มีทั้งการประดับไฟสวยงามในบริเวณรอบๆ รวมถึงการปิดถนนเพื่อให้ประชาชนได้มาเฉลิมฉลองกันเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ยังไม่รวมถึงกิจกรรมบันเทิงเริงใจที่ทางภาครัฐและเอกชนพร้อมใจกันจัดให้อีก เรียกว่าที่นี่คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม!

ไหว้พระ 9 วัด

ฟังดูแล้วบางคนอาจจะตลกว่าปีใหม่ทำไมต้องไปฉลองที่วัดด้วย แต่ขอบอกว่าสถานที่ดังกล่าวนี้ได้รับความนิยมไม่น้อยในช่วงปีใหม่
และยิ่งช่วงนี้สถานการณ์ทางการเมืองของเราไม่ค่อยสู้ดี
การเข้าวัดไหว้พระทำบุญนั้น ยิ่งเป็นการเพิ่มพูนกำลังใจได้แก่ตนเองไม่น้อยและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 9 แห่ง ได้แก่ วัดกัลยาณมิตร, วัดชนะสงคราม, วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), วันพระแก้ว, วันระฆังฯ, วัดสุทัศนฯ, วัดอรุณา, ศาลหลักเมือง และศาลเจ้าพ่อเสือ แต่ขอแนะนำว่าให้ออกจากบ้านแต่งเข้า เพราะกิจกรรมนี้ใช้เวลานานพอสมควรเผื่อมีเวลาเหลือให้ได้ชมความสวยงามของวัดในกรุงเพทฯก็ไม่ว่ากัน






สะพานพระราม 8
ต้องบอกว่าไม่ไปเสียดายแย่ ปีหนึ่งมีแค่หนเดียวเท่านั้นที่จะได้ชมความสวยงามของสะพานพระราม 8 เพราะที่นี่มีการจัดแสดงแสง สี เสียง ประกอบพลุ ดอกไม้ไฟ คุณๆ จะได้เห็นความสวยงามของพลุดอกแล้วดอกเล่าที่จุดขึ้นฟ้าส่องประกายสวยงาม เปรียบดังชีวิตในช่วงปีใหม่ที่จะมาถึงให้ลุกโชติช่วงชัชวาลกันเลย

สนามหลวง
ได้โปรดอย่าถามว่าจะชวนไปสนามหลวงเพราะจะไปเล่นว่าวหรืออย่างไร?

คำตอบคือไม่ใช่แต่จะพามาทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ในตอนเช้า เพื่อความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต ทำบุญทำทาน เพื่อชีวิตในภายภาคหน้าจะได้พบแต่ความสุขถือเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เยี่ยมทีเดียวคุณว่ามั้ย?






เชียงใหม่

ฟังดูอาจไกลไปสักหน่อย แต่ปีใหม่ทั้งทีย่อมมีวันหยุดยาวหลายวันติดต่อกัน
น่าจะหาโอกาสไปฉลองปีใหม่ที่จังหวัดเชียงใหม่ดูสักครั้ง จะไปเดี่ยว เป็นคู่

หรือแบบแฟมิลี่ก็ไม่ว่ากัน ที่นี่นอกจากจะมีอากาศที่เย็นสบายเพราะอยู่ในช่วงฤดูหนาวแล้ว บางคนยังหนีขึ้นดอยไปฉลองปีใหม่ กับสายลม สายหมอก ที่นั่น เอ้อ! ไปแล้วอย่าลืม ถ่ายรูปมาอวดเพื่อนๆ ให้ได้อิจฉาเล่นด้วยล่ะ



ที่มา:
http://hilight.kapook.com/view/31817

วันขึ้นปีใหม่

| 0 ความคิดเห็น |

ประวัติความเป็นมา
วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน
เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)
แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

วิถีชีวิตและความเป็นอยู่

| 0 ความคิดเห็น | วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553


วิถีชิวิตและความเป็นอยู่

คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ได้ดี คือ พื้นที่ราบแอ่งเชียงใหม่ ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่าง สินค้ามีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี “กาดมั่ว” ใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้

คนไทยภาคเหนือนิยมปลูกบ้านอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะมีหมู่บ้านตั้งเป็นระยะ ๆ เรื่อยไปตามแม่น้ำ ลักษณะบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกสูง มีใต้ถุนโล่ง เป็นที่เก็บของเครื่องมือทำเกษตร และเป็นที่ทำงานหรือพักผ่อนยามว่างได้ด้วย บ้านของชาวเหนือนิยมมุงกระเบื้องหรือชาวบ้านเรียกว่าดินขอ หรือบางครั้งก็มุงด้วยแผ่นไม้สักซึ่งทำเป็นแผ่นเล็ก ๆ แต่โตกว่าแผ่นกระเบื้อง แผ่นไม้สักนี้จะทนแดดทนฝน ถ้าคัดเลือกไม้อย่างดีจะอยู่ได้เกิน 50 ปีขึ้นไปเลยทีเดียว

ถัดจากบ้านก็จะเป็นยุ้งข้าวขนาดใหญ่เล็กตามฐานะ นอกจากนั้นก็จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ เป็ด วัว ควาย ม้า ถัดบ้านก็เป็นสวนผลไม้ซึ่งรวมถึงพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารด้วย

ชาวล้านนามีลักษณะเหมือนคนไทยทั่วไป แต่เป็นเชื้อสายไทยยวน หรือโยนก คนล้านนาเองเรียกคนกลุ่มเดียวกันว่า “คนเมือง” ลักษณะเด่นกว่าคนไทยกลุ่มอื่นคือ ผิวค่อนข้างขาว รูปร่างสันทัดไม่สูง ไม่เตี้ยเกินไป ส่วนใหญ่รูปร่างผอมบาง มีภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า “คำเมือง” ภาษาไทยเหนือมีระบบตัวอักษรบันทึกที่เรียกว่า “อักษรล้านนา” บันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา คัมภีร์ต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายและความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อักษรล้านนานี้ดัดแปลงมาจากอักษรมอญเดิม มีอายุรุ่นเดียวกับอักษรพ่อขุนรามคำแหง หรืออาจเก่ากว่านั้นอีก

ที่มา:
http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:z06nA4Zjx-4owM:http://www.thephototours.com/admin/viewfilec.asp%3Fid%3D167%26mf%3Did%26table%3Dcontents%26f1%3Dpicture3%26f2%3Dpicture4

ชนเผ่าภาคเหนือ

| 0 ความคิดเห็น |


ตัวอย่างชาวเขาภาคเหนือ

ชาวเขาเผ่าอาข่า ลักษณะบ้าน เป็นบ้านไม้ไผ่ยกพื้นเตี้ย หลังคาทำด้วยหญ้าคา ชายหลังคาคลุมเกือบปิดบ้าน เพื่อกันฝนและลมหนาว เนื่องจากชาวอาข่ามักนิยมปลูกบ้านบนสันดอยสูง และตัวบ้านจะมีระเบียงหน้าบ้านสำหรับนั่งเล่น พักผ่อน หรือรับแขก
ภายในบ้านจะแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนโดยการกำหนดขอบเขตกันเอง จะไม่แบ่งกั้นเป็นห้องชัดเจน ซึ่งจะแบ่งหลักๆ เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสำหรับใช้นอน และส่วนสำหรับทำอาหารชาวลาหู่เป็นชนเผ่าที่มีลักษณะนิสัยรักสันโดด จะอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ มีวิถีชีวิตที่พึ่งพาตนเองและธรรมชาติ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ธรรมชาติเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของพวกเค้าสูงมาก ในขณะเดียวกันพวกเค้าก็มีทักษะและความชำนาญอย่างยิ่งในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่รายรอบ เราสามารถเห็นได้จากการปลูกบ้านโดยใช้ไม้ไผ่ทั้งหลัง ใช้หญ้าเป็นหลังคา ใช้เศษไม้ไผ่ทำเป็นตอกมัดแทนเชือกหรือตะปู มีความชำนาญในเจาะไม้เพื่อให้ยึดติดกันเป็นโครงสร้างของบ้าน ด้วยทักษะภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมายาวนานนับแต่บรรพบุรุษ ทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาวัสดุดิบจากในเมือง และสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน
ชาวลาหู่มักเลือกทำเลในการปลูกบ้านในที่ลักษณะเป็นหุบเชิงดอยเขา เพื่อให้ภูเขาลูกใหญ่กันลม ตัวบ้านจะใหญ่และโปร่ง ลักษณะบ้านใหญ่หรือเล็ก ขึ้นอยู่กับแรงงานปลูกสร้าง เช่น หากมีลูกชายเยอะ ก็จะมีแรงงานพอที่จะปลูกบ้านหลังใหญ่ได้
บ้านเกือบทุกหลังจะมีระเบียงหน้าบ้าน ภายในบ้านแบ่งเป็นที่นอน และครัวรวมอยู่ในตัวบ้าน ชาวลาหู่ทำอาหารในบ้าน จะมีกะบะดินอัดแน่นเป็นฐานรองในการก่อไฟทำอาหาร ทำให้ไฟไม่สามารถลุกติดบ้านไม้ไผ่ได้ ในขณะเดียวกัน ควันไฟที่ลอยขึ้นในขณะทำอาหาร ช่วยทำให้ไม้ไผ่และหลังคาเหนียวทนทานมากขึ้น และยังทำให้แมลงไม่ชอบ และไม่อยากเข้ามารบกวนอีกด้วย เมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยือน ชาวลาหู่จะเตรียมที่นอนให้แก่แขก ที่นอนของแขกจะแยกคนละฝั่งห้องกับคนในบ้าน แต่อยู่ในห้องเดียวกัน
ที่มา:http://www.hilltribetour.com/living/images/l_pic0.jpg

ประเพณีปอยส่างลอง

| 0 ความคิดเห็น |


ประเพณีปอยส่างลอง
ช่วงเวลา
ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ระยะเวลา 3-7 วัน โดยทั่วไปนิยมจัดงาน 3 วัน

ความสำคัญ
"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

ประเพณีปอยส่างลอง

พิธีกรรม
มี 2 วิธีคือ แบบที่เรียกว่า ข่ามดิบ และแบบส่างลอง
1. แบบข่ามดิบ เป็นวิธีการแบบง่าย ๆ คือ พ่อแม่จะนำเด็กไปโกนผมที่วัดหรือที่บ้าน เสร็จแล้วนุ่งขาวห่มขาว เตรียมเครื่องไทยทานอัฐบริขารไปทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่วัด พระสงฆ์ประกอบพิธีให้ก็เป็นสามเณร
2. แบบส่างลอง จะเป็นวิธีการที่จัดงานใหญ่โดยทั่ว ไปจะจัดงานกัน 3 วัน วันแรกเรียกว่า วันรับส่างลองในตอนเช้าจะ โกนผมแล้วแต่งชุดลำลอง ซึ่งเครื่องแต่งกาย จะประดับด้วยเครื่องประดับที่มีค่า โพกศรีษะเหมือนชาวพม่า นุ่งผ้าโสร่ง ทาแป้ง เขียนคิ้วทาปาก แห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ และผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอ ตลอดทั้งวันจะรับประทาน อาหารที่บ้านเจ้าภาพ วันที่สองเป็นวันที่แห่งเครื่องไทยทาน และส่งไปที่วัดเลี้ยง อาหราผู้ที่มาร่วมขบวนแห่ และพิธีทำขวัญส่างลอง เลี้ยงอาหารซึ่งถือว่ามื้อนี้เป็นอาหาร มื้อพิเศษจะประกอบด้วยอาหาร 12 อย่างแก่ส่างลองด้วย วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ในตอนบ่ายจะแห่ส่างลองไปที่วัดและทำพิธีบรรพชา เป็นอันเสร็จพิธี ประเพณีและวัฒนธรรม ปอยส่างลอง

สาระ
1. ผู้ที่ผ่านการบรรพชาเป็นสามเณรจะได้รับการยกย่องเรียกคำว่า ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
2. ผู้ที่ผ่านการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า หนาน นำหน้าชื่อตลอดไป
3. บิดาที่จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณร จะได้รับยกย่องเรียกคำว่าพ่อส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
4. มารดาที่ได้จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณรจะได้รับยกย่องเรียกคำว่าแม่ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
5. บิดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุจะได้รับยกย่องเรียกคำว่า พ่อจาง นำหน้าชื่อตลอดไป
6. มารดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุ จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า แม่จาง นำหน้าชื่อตลอดไป
7. การจัดงานปอยส่างลอง เป็นการสืบทองพระพุทธศาสนา และก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
ที่มา:http://www.thailandbuddy.com/images/culture/culture-2.jpg

การแสดงของภาคเหนือ

| 0 ความคิดเห็น |


การแสดงของภาคเหนือ

ภาคนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะเร็วท่าหยาบนุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ
นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนชมเดือน ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง)ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น
ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา)
ที่มา:http://www.finearts.go.th/th/board/topic_img/00000007/44080023a.jpg

ภาษาเหนือ

| 1 ความคิดเห็น |


ภาษาเหนือ

ภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก และ แพร่ และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์อีกด้วย
นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของคนไท-ยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วย
คำเมืองมีไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมได้ใช้ คู่กับ ตั๋วเมือง,ตัวเมือง ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่อักษรมอญใช้เป็นต้นแบบ
ภาษาเหนือหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาย่อยหรือภาษาถิ่นของภาษาไทย ใช้กันในดินแดนล้านนา 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
ความแตกต่างของภาษาพูด (คำเมือง) ระหว่างภาษากลางและภาษาเหนือคือ การใช้คำศัพท์ พยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างกัน ตัวอย่างเช่น

คำศัพท์ต่างกัน

(ภาษากลาง - ภาษาเหนือ)
ยี่สิบ - ซาว
ไม่ - บ่
เที่ยว - แอ่ว
ดู - ผ่อ
สวย - งาม
นาน - เมิน
สนุก, ดี, เพราะ - ม่วน
อร่อย - ลำ
ที่มา:http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/khwanchai/khwanchai-web2/content/page1.htm

อาหารภาคเหนือ

| 0 ความคิดเห็น |



อาหารภาคเหนือ

อาหารภาคเหนือ ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร
ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา และนิยมใช้
ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร
คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง
ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง
ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญ
ขาดไม่ได้คือ ดอกงิ้ว ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้าน
ที่มีกลิ่นหอม หรืออย่างตำขนุน แกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น เช่น
ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม
ที่มา:http://student.swu.ac.th/sc481010115/web/northfood.jpg

ศาสนาและความเชื่อ

| 0 ความคิดเห็น | วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553


ศาสนาและความเชื่อ

คนภาคเหนือก็เหมือนกับคนไทยส่วนใหญ่ ความเชื่อแต่เดิมก็เชื่อเรืองผีเช่นเดียวกัน แต่ละบ้าน แต่ละตระกูลก็จะมีผีประจำบ้าน ประจำตระกูล ดังนั้น แต่ละหมู่บ้านหรือแต่ละบ้านก็มีประเพณีเลี้ยงผี เช่น ผีปู่ย่า ผีมด ผีเมง ผีเสื้อเมือง เป็นต้น เมื่อพุทธศาสนาแพร่มายังภาคเหนือ คนไทยภาคเหนือก็รับเอาพุทธศาสนาเป็นสรณะ ชาวเหนือเป็นพุทธมามกะที่ดีและปฏิบัติศาสนกิจเคร่งครัดมาก แทบทุกหมู่บ้านจะมีวัดประจำหมู่บ้าน พ่อแม่ที่มีลูกชายจะนิยมให้ลูกชายบวชเรียน และนิยมให้ลูกชายบวชเณร ที่แม่ฮ่องสอน เรียกว่า ประเพณีบวชลูกแก้ว เมื่อลูกชายย่างเข้า 9 ปี พ่อแม่ถือลูกชายยังบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมาะที่จะบวช จึงทำพิธีบวชลูกแก้ว พิธีนี้จัดกันอย่างใหญ่โต แต่ละครอบครัวที่มีลูกชายวัยเดียวกันมักจะนัดมาบวชพร้อมกัน มีการแต่งตัวให้นาคอย่างงดงามเหมือนเครื่องทรงกษัตริย์ เมื่อเข้าขบวนแห่ก็ให้ขึ้นหลังม้ากางสัปทน (ร่ม) จัดขบวนแห่อย่างสวยงามไปบวชที่วัด เมื่อบวชเป็นเณรก็เรียนหนังสือศึกษาพุทธศาสนาที่วัด พออายุได้ประมาณ 19 ปีก็ลาสิกขา แล้วจะมีคำนำหน้าว่า “น้อย” เช่น น้อยไชยา ส่วนผู้ที่บวชเป็นพระต่อถ้าสึกออกมาเป็นฆราวาสก็จะมีคำนำหน้าว่า “หนาน เช่น หนานโฮะ หนานอินตา เป็นต้น
ที่มา:http://www.thaifolk.com/image/northen/poisanglong.gif

อาชีพของคนภาคเหนือ

| 0 ความคิดเห็น |




อาชีพของคนภาคเหนือ

ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย

ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ

นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น
ที่มา:http://www.thaifolk.com/image/northen/umbrella.gif

การแต่งกายของภาคเหนือ

| 0 ความคิดเห็น |



การแต่งกายของภาคเหนือ

เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า
1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
4. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน

http://www.thainame.net/weblampang/fourthai/images/nort_clip_image001.gif

วันครู

| 0 ความคิดเห็น | วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553







ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 16 มกราคมของทุกๆ ปี เป็น "วันครู" และการจัดงานวันครู ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 และให้ดำเนินเรื่อยมาทุกปี นับตั้งแต่บัดนั้นมา โดยจัดให้มีขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ความหมายของครู ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ ความสำคัญของครู ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง ประวัติความเป็นมา วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง" จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

แหล่งที่มา: http://hilight.kapook.com/view/19311

E-Education&E-Commerce

| 0 ความคิดเห็น |


E Education & Commerce ความเหมือนที่แตกต่าง สำหรับคำว่า E Commerce แล้ว ทุกคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างไม่มากก็น้อยถ้ายังไม่เคยให้ไปศึกษา ใน บทความ E Commerce
ส่วน E Education คงคุ้นหูกันน้อยมาก ผมก็คงจะไม่พูดถึงรายละเอียดอีกเช่นกันพูดไว้แล้วใน บทความ E Education
สำหรับบทความในตอนนี้ ผมจะพยายามเปรียบเทียบ ระหว่าง E Commerce กับ EEducation ในส่วนที่เหมือน และส่วนที่แตกต่าง ก่อนอื่นเรามาดู ภาพองค์ประกอบของ E Commerce และ E Education กันก่อน






ภาพแสดงส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบ Ecommerce
จากภาพจะเห็นได้ว่า E Education ประกอบไปด้วย
1 Bank ทำหน้าที่เป็น Payment Gateway คือตรวจ สอบ และอนุมัติวงเงินของผู้ถือบัตร เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้า และ/หรือบริการ ทาง Internet ผ่านระบบของธนาคาร และธนาคารจะโอนเงินค่าสินค้า และหรือบริการนั้น ๆ เข้าบัญชีของ ร้านค้า สมาชิก
2 TPSP TRANSACTION PROCESSING SERVICE PROVIDER องค์กรผู้บริหาร และพัฒนาโปรแกรม การ ประมวลผลการชำระค่าสินค้า และ/หรือบริการ ผ่าน Internet ให้กับร้านค้า หรือ ISPต่าง ๆ ผ่าน Gateway โดย TPSP สามารถต่อเชื่อมระบบให้กับทุก ๆ ร้านค้าหรือทุก ๆ ISP และทำการ Internet ระบบชำระเงินผ่าน Gateway ของธนาคาร
3.CUSTOMER ลูกค้าสามารถชำระค่าสินค้า และ/หรือบริการได้ด้วย- บัตรเครดิต- บัตรเครดิตวีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ดจากทุกสถาบันการเงินทั่วโลก- ระบบหักบัญชีเงินฝากของธนาคาร (Direct Debit)
4 MERCHANT ร้านค้าที่ต้องการขายสินค้าและ/หรือบริการ ผ่านระบบ Internet โดยเปิด Home Page บน Site ของตนเอง หรือ ฝาก Home Page ไว้กับ Web Site หรือ Virtual Mall ต่าง ๆ เพื่อขายสินค้าและหรือบริการผ่านระบบของ ธนาคาร ร้านค้าจะต้องเปิดบัญชีและสมัครเป็นร้านค้าสมาชิก E-Commerce กับธนาคารก่อน
5 ISP INTERNET SERVICE PROVIDER องค์กรผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทาง Internet ให้กับลูกค้า ซึ่งอาจเป็นร้านค้า หรือผู้ใช้ Internet ทั่วไป โดย ISP รับและจดทะเบียน Domain หรือ จะจัดตั้ง Virtual Mall เพื่อให้ร้านค้านำ Home Pageมาฝากเพื่อขายสินค้า
ขั้นตอนการทำงาน
ผู้ขายสินค้าหรือร้านค้า MERCHANTเสนอขายสินค้าผ่านทาง Internet โดยใช้บริการ ISP เชื่อมต่อระบบ Internet
ผู้ซื้อสินค้า Customer เชื่อมต่อ Internet โดยผ่าน ISP
ผู้ซื้อสินค้า Customer ซื้อสินค้าโดยใช้บัตรเครดิต
ผู้ให้บริการเชื่อมโยงการชำระเงินทางอินเทอร์เนต TPSP ระหว่างผู้ซื้อ Bank จะเชื่อมข้อมูลไปที่ Bank
ธนาคาร Bank ก็จะตรวจสอบวงเงิน และตัดวงเงินเข้าสู่บัญชีเงินฝากของร้านค้า




ภาพแสดงส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบ E Commerceและ การเปลี่ยนแปลงสู่ E Education
จากภาพจะเห็นได้ว่าส่วนประกอบที่สัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันระหว่าง E Commerce กับ E Education จะเหมือนกับทุกอย่าง เพียงแต่เปลี่ยนแปลงในส่วนของ ร้านค้า MERCHANT เป็น โรงเรียน School หรือสถาบันการศึกษา ผู้ซื้อสินค้า Customer เป็น ผู้เรียน Student โดยที่ โรงเรียนจะเป็นผู้เสนอขายสินค้าก็คือหลักสูตรการเรียนการสอน ส่วนผู้เรียน Student ก็เป็นผู้เลือกหลักสูตรที่ต้องการศึกษา นั้นเอง
จึงพอที่จะสรุปได้ดังนี้
E Commerce คือ การดำเนินธรุกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต ส่วน E Education ความหมายเช่นเดียวกันเพียงแต่เปลี่ยนแปลงร้านค้า MERCHANT เป็น โรงเรียน สินค้าก็คือความรู้ Knowledge Base

แหล่งที่มา : http://www.thaiwbi.com/topic/E_edu-E_com/

ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัย

| 0 ความคิดเห็น |





ทักทาย
คงไม่ต้องกล่าวกันอีกแล้วสำหรับความสำคัญและประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นปัจจัย ที่สำคัญในการประกอบธุรกิจและการดำเนินชีวิตของยุคโลกไร้พรมแดน เมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย ซึ่งเราๆ ท่านๆ ทั้งหลายควรจะให้ความสำคัญ โดยการศึกษาให้เข้าใจเพื่อเป็นการป้องกันปัญหามิให้เกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรงต่อธุรกิจของท่าน หรือมีผลกระทบต่อตัวท่านเอง
คู่มือเล่มนี้จะประกอบไปด้วย 4 ส่วนคือ 1.การป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับคอมพิวเตอร์ 2.ความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ 3.การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล 4.ปัญหาและภัยคุกคามที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต โดยการเรียบเรียงจากคู่มือ Safety Net ซึ่งจัดทำโดย Asia Oceania Electronic Marketplace Association (AOEMA)และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจของเอเซียแปซิฟิก (APEC Telecommunication and Information Working Group) และจากแหล่งข้อมูลภายในศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รวมทั้งเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดทำขอขอบคุณหน่วยงานเหล่านั้นมา ณ ที่นี้ด้วย
หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อหาเหล่านี้เพื่อเป็นเกราะปกป้องธุรกิจของท่านและตัวท่านเองจากภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น บนโลกออนไลน์ ตามสุภาษิตที่ว่า "กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทัน”
ด้วยความปรารถนาดีศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

e-commerce คืออะไร

| 0 ความคิดเห็น | วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553


e-commer คืออะไร

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997) - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้
แหล่งที่มา::http://thaiall.com/article/ecommerce.htm#what