image
Free CSS Template

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Aliquam feugiat mi lacus, sed accumsan neque. Donec condimentum molestie laoreet.

ประเพณีปอยส่างลอง

| | วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553


ประเพณีปอยส่างลอง
ช่วงเวลา
ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ระยะเวลา 3-7 วัน โดยทั่วไปนิยมจัดงาน 3 วัน

ความสำคัญ
"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

ประเพณีปอยส่างลอง

พิธีกรรม
มี 2 วิธีคือ แบบที่เรียกว่า ข่ามดิบ และแบบส่างลอง
1. แบบข่ามดิบ เป็นวิธีการแบบง่าย ๆ คือ พ่อแม่จะนำเด็กไปโกนผมที่วัดหรือที่บ้าน เสร็จแล้วนุ่งขาวห่มขาว เตรียมเครื่องไทยทานอัฐบริขารไปทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่วัด พระสงฆ์ประกอบพิธีให้ก็เป็นสามเณร
2. แบบส่างลอง จะเป็นวิธีการที่จัดงานใหญ่โดยทั่ว ไปจะจัดงานกัน 3 วัน วันแรกเรียกว่า วันรับส่างลองในตอนเช้าจะ โกนผมแล้วแต่งชุดลำลอง ซึ่งเครื่องแต่งกาย จะประดับด้วยเครื่องประดับที่มีค่า โพกศรีษะเหมือนชาวพม่า นุ่งผ้าโสร่ง ทาแป้ง เขียนคิ้วทาปาก แห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ และผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอ ตลอดทั้งวันจะรับประทาน อาหารที่บ้านเจ้าภาพ วันที่สองเป็นวันที่แห่งเครื่องไทยทาน และส่งไปที่วัดเลี้ยง อาหราผู้ที่มาร่วมขบวนแห่ และพิธีทำขวัญส่างลอง เลี้ยงอาหารซึ่งถือว่ามื้อนี้เป็นอาหาร มื้อพิเศษจะประกอบด้วยอาหาร 12 อย่างแก่ส่างลองด้วย วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ในตอนบ่ายจะแห่ส่างลองไปที่วัดและทำพิธีบรรพชา เป็นอันเสร็จพิธี ประเพณีและวัฒนธรรม ปอยส่างลอง

สาระ
1. ผู้ที่ผ่านการบรรพชาเป็นสามเณรจะได้รับการยกย่องเรียกคำว่า ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
2. ผู้ที่ผ่านการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า หนาน นำหน้าชื่อตลอดไป
3. บิดาที่จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณร จะได้รับยกย่องเรียกคำว่าพ่อส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
4. มารดาที่ได้จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณรจะได้รับยกย่องเรียกคำว่าแม่ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
5. บิดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุจะได้รับยกย่องเรียกคำว่า พ่อจาง นำหน้าชื่อตลอดไป
6. มารดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุ จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า แม่จาง นำหน้าชื่อตลอดไป
7. การจัดงานปอยส่างลอง เป็นการสืบทองพระพุทธศาสนา และก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
ที่มา:http://www.thailandbuddy.com/images/culture/culture-2.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น